ความหมายของศิลปะ
คำว่า "ศิลปะ" เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมาก เป็นศาสตร์ที่รวมผลงานที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลของมุนษย์ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ที่ประกอบไปด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป ์และศิลปะการแสดง ดนตรี วรรณศิลป์หรือกระทั่ง ประยุกต์ศิลป์ซึ่งเป็นผลงานที่มนุษย์พบเห็นในชีวติประจำวันล้วน ให้คุณค่าให้ประโยชน์แก่มวลมนุษย์ งานศิลปะแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางผลผลิตเพื่ออาหารทางกายแต่คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือความงามที่ทำให้เกิดความรู้สึก ซาบซึ้งในคุณค่าของความงามหรือความพึงใจที่เรียกว่าคุณค่าทางสุนทรีย์ซึ่งคุณค่าทางสุนทรีย์นี้เองเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เลือกบริโภคผลงานศิลปะที่มีคุณค่า และ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
ความหมายของศิลปะศิลปะตรงกับภาษาอังกฤษว่า "ART"การทำความเข้าใจในความหมายของคำว่าศิลปะเป็นเรื่องที่ยากเพราะศิลปะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างและ การ แสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใจของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความงามความพอใจของแต่ละคน บางคนอาจมีความชื่นชมในความงามแตกต่างกันและยังคงเป็นเรื่องที่เข้าใจ ยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาศิลปะ
ความหมายของศิลปะตามแนวคิดของศิลปิน
1. ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ (ArtasRepresentation) ผลงานศิลปะอาจจะมีทั้งประเภทที่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติ หรือไม่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติก็ได้กล่าวคือถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือภาพมนุษย์ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติแต่ หากว่าเป็นการ เขียนภาพแสดงความพิศดาร ของการใช้สีสันเพื่อให้เกิดความรู้สึกสนใจหรืออารมณ์ตามต้องการก็เป็นผลงานที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติเช่นเดียวกับดนตรีผลงาน ดนตรีส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพราะดนตรีอาจใช้ถ้อยคำหรือไม่ใช้ถ้อยคำใด ๆเลยก็ได้เพราะดนตรีเป็นเรื่องของความสนใจความไพเราะของ เสียงเช่นดนตรีประเภทProgramMusic (ดนตรีที่สามารถสื่อออกมาเป็นเรื่องราว) ซึ่งอาจนำมาใช้การประกอบการแสดงเราถือว่าเป็นผลงานที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ส่วนVocalMusic (ดนตรีประเภทขับร้อง) นั้นเราถือว่าเป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพราะมีการใช้ถ้อยคำเพื่อบรรยายเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้เกิด จินตภาพเป็นไปตามคำร้อง หรือถ้าหากว่าเป็นการแสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวธรรมชาติ เช่นการเลียนแบบท่าทางต่าง ๆของสัตว์ก็จัดว่าเป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติ เช่นเดียวกัน
2. ศิลปะคือรูปทรง (ArtasPureForm) งานศิลปะไม่สามารถจะสร้างขึ้นมาได้ถ้าปราศจากรูปทรง Form การที่เราชื่นชมเพราะว่าในศิลปวัตถุมีรูปทรงที่สวยงาม ทั้งนี้เพราะลักษณะที่สำคัญคือมีความกลมกลืนขององค์ประกอบที่ทำให้เป็นเอกภาพ ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ของดนตรีตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และรูปทรงของเสียงดนตรี สามารถถ่ายทอดมายังจิตใจได้
3. ศิลปะคือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ (ArtasExpressionism) ความคิดเรื่องศิลปะ คือการแสดงออกซึ่งอารมณ์นี้ใช้เพียงแค่ ถือว่าวัตถุประสงค์ของ ศิลปะไม่ ใช้เสนอความงามในรูปทรงของสีสันหรือเสียง และไม่ใช้เพืยงแค่การลอกเลียนแบบจากธรรมชาติ อารมณ์ทางศิลปะนั้นแตกต่างจากการแสดงอารมณ์แบบอื่น ๆ ดัง ต่อไปนี้
3.1 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกบเจตนาหรือความตั้งใจ
3.2 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีจุดประสงค์หรือคุณค่าอยู่ในตัวเองโดยไม่มีเจตนาอื่นซ้อนเร้น เคลือบแฝง
3.3 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ แสดงให้รู้ว่าบุคคลมีปฏิกิริยาหรือมีความรุ้สึกในทางสุนทรียะ คือความชอบไม่ชอบ
3.4 สื่ออารมณ์ในศิลปะ ประเภทการแสดงอารมณ์มีความหมายถึงคุณค่าอยู่ในตัวเป็นลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับสื่อประเภทอื่น ๆ เช่นการพูดไม่ว่าเราจะ พูดถึงเรื่องอะไร การตีค่าความหมายก็จะหมายถึงสิ่งที่เราพูดแต่ในทางดนตรีหรือนาฏศิลป์นั้นคำพูดแต่ละคำมีความหมายในตัวเองโดยเป็นคำที่มีเสียงไพเราะการรับรู้ตาม ธรรมชาติของมนุษย์ สีสันและรูปทรงจะทำให้สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไรและใช้ประโยชน์อะไร
4. ศิลปะ คือการแสดงออกทางความรู้สึก ศิลปินอาจจะแก้ไขแต่งเติมดัดแปลงจากธรรมชาติ เช่น สื่อความหมายลงในภาพที่วานทิวทัศน ์ ศิลปะจึงเป็น การ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากธรรมชาติโดยมีมนุษย์เป้นตัวถ่ายทอดความประทับใจ แต่การรับรู้ของผู้ชมอาจจะต้องการชื่นชมความงามในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่
4.1 ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) เป็นศิลปะที่ไม่ซับซ้อนมีเนื้อหาสาระที่ปรากฏเด่นชัดแต่ผู้สร้างและผู้ชมต้องมีความรู้เรื่องนั้นด้วย เช่นภาพคน ภาพสัตว์
4.2 ศิลปะแบบกึ่งนามธรรม(Semiabstract) เป็นการถ่ายทอดที่ผิดเบนไปจากรูปธรรมหรือ แบบเหมือนจริงด้วยการตัดทอนรูปทรงจากของจริงให้เรียบง่าย แต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่สามารถดูรู้ว่าเป็นภาพอะไร
4.3 ศิลปะแบบนามธรรม (abstract) เป็นศิลปะประเภทที่ไม่มีความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอนให้เหลือแค่เส้นสี น้ำหนัก ที่ก่อให้เกิดความงามตามอารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่เหนือความเป็นจริงต้องใช้จินตนาการในการรับรู้รับชม
ประเภทของงานศิลปะ
เราอาจแบ่งประเภทของงานศิลปะตามหลักการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภทคือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) คือศิลปะที่งดงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 6 สาขา คือ
1.1 จิตรกรรม 1.2 ประติมากรม 1.3 สถาปัตยกรรม 1.4 วรรณกรรม 1.5 ดุริยางศิลป์ หรือ ดนตรี 1.6 นาฏศิลป์ การละคร การเต้นรำ ภาพยนตร์
2. ประยุกต์ศิลป์ (AppliedArts) คือศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ทางการใช้สอยเช่น ออกแบบนิเทศศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ มัณฑนศิลป์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น
สรุป
ศิลปะ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ศิลปะที่ให้คุณค่าทางร่างกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ประจำวันของมุนษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็นเข้าใจและเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ศิลปะที่ให้คุณค่าทางจิตใจเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าในการพัฒนา มนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น